Pulsating Superman Logo Pointer

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555


ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้เกิดอันตรายและเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นใน 3 ลักษณะ คือ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบนผิวโลก เช่น การเกิดแผ่นดินถล่ม อุทกภัย ภัยแล้ง ไฟป่า และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ เช่น วาตภัย ภาวะโลกร้อน ลูกเห็บ ฟ้าผ่า เป็นต้น


1.1  แผ่นดินไหว
        แผ่นดินไหว (Earthquake) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แผ่นดินมีการสั่นสะเทือน ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของแรงบางอย่างที่อยู่ใต้พื้นโลก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวคลื่นของแผ่นดินไหวจะกระจายไปสู่บริเวณส่วนต่างๆ ของโลก และถ้าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวเป็นไปอย่างรุนแรง อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นที่อยู่ห่างออกไปไกลนับหมื่นกิโลเมตรก็สามารถรับคลื่นแผ่นดินไหวได้
        1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นดินที่รู้สึกได้จุดใดจุดหนึ่นบนผิวโลก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการคลายตัวอย่างรวดเร็วของความเครียดภายในเปลือกโลกในรูปแบบของการเลื่อนตัวของแผ่นดินไหวได้เช่นกัน
        2) สถานการณ์เกิดแผ่นดินไหว ในปัจจุบันได้เกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวในภูมิภาคต่างๆ ของโลกบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้น โดยมีศูนย์กลางการเกิดตามพื้นที่เสี่ยงภัยต่างๆ โดยเฉพาะตามแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกทั้งหลาย
         ในประเทศไทยการเกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหวค่อนข้างน้อยและได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ห่างไกลจากแนวแผ่นเปลือกโลกและแนวภูเขาไฟ แม้ประเทศไทยจะมีรอยต่อเลื่อนมีพลังในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ แต่เป็นรอยเลื่อนขนาดเล็กส่วนใหญ่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะอยู่บริเวณหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ทางตอนใต้ของประเทศจีน และตอนเหนือของประเทศลาว
    3) ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กหรือปานกลางเกิดขึ้น (ขนาดปานกลาง 4-6 ริกเตอร์ ขนาดเล็ก 1-3 ริกเตอร์) จะเกิดรอยร้าวของอาคารและสิ่งของตกลงพื้นหรือแกว่ง แต่ถ้าขนาดของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คือ ตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปจะเกิดความรุนแรงมาก คือ อาคารที่ไม่แข็งแรงจะพังทรุดถล่ม มีผู้เสียชีวิตมาก กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่เป็นเกาะ และมีขนาดตั้งแต่ 7.5 ริกเตอร์ขึ้นไป ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามินอกจากนี้การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อาจจะทำให้พื้นที่บริเวณเชิงเขาที่ลาดชันเกิดดินถล่มลงมาทับบ้านเรือนแถบเขาและอาจเกิดแผ่นดินแยกกัน
          พื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย
          กรมทรัพยากรธรณีได้จัดทำแผนที่แสดงบริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทยและแสดงความเสี่ยงของโอกาศการเกิดแผ่นดินไหวที่จะเกิดความเสียหายตามมาตราอันดับขั้นรุนแรงของแผ่นดินไหว เรียกว่า”มาตราเมร์กัลป์ลี”(Mercalli scaie) ดังนี้
      1. เขตความรุนแรงน้อย สภาพของแผ่นดินไหวจะสามารถตรวจจับความสั่นสะเทือนระดับ  I-II เมร์กัลป์ลี โดยเครื่องตรวจรับความสั่นสะเทือน คนไม่สามารถรู้สึกได้ พบได้บริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของถาคตะวันออกเฉีงเหนือและภาคตะวันออก
      2. เขตความรุนแรงพอประมาณ สภาพของแผ่นดินไหวคนสามารถรู้สึกได้ และเครื่องตรวจจับความสั่นสะเทือนจะอยู่ในระดับ III-IV เมร์กัลป์ลี พบได้บริเวณภาคตะวันออกฉียงเหนือตอนบนภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่นครศรีธรรมราชลงไป
     3. เขตที่มีความรุนแรงน้อย-ปานกลาง สภาพของแผ่นดินไหวคนรู้สึกได้ ระดับความสั่นสะเทือน V-VI เมร์กัลป์ลี บ้านสั่นสะเทือน ต้นไม่สั่น สิ่งปลูกสร้างที่ออกแบบไม่ดีอาจพังได้ พบบริเวณภาคเหนือ ขอบภาคกลางด้านทิศตะวันตก กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้
          4. เขตที่มีความรุนแรงปานกลาง สภาพของแผ่นดินไหวคนรู้สึกได้ สิ่งของในห้องตกหล่น ตึกร้าว ระดับความสั่นสะเทือน VII-VIII เมร์กัลป์ลี ทำให้สิ่งก่อสร้างเสียหาย บริเวณที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกที่มีชายแดนติดต่อกับสหภาพพม่าจนถึงจังหวัดกาญจนบุรี
 4) การระวังภัยจากแผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ แต่บริเวณใดที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวจึงเป็นเพียงการลดความสูญเสียเท่านั้น
      ข้อปฎิบัติในการป้องกันตนเองจากภัยแผ่นดินไหว มีดังนี้
 1.บุคคลที่อยู่บริเวณจุดเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว ควรจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภค ยารักษาโรคไว้ให้พร้อม
 2.ขณะเกิดเหตุห้ามใช้ลิฟต์เพราะไฟฟ้าอาจดับได้ และควรมุดลงใต้โตะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันสิ่งของร่วงหล่นทับ
 3.หากอยู่ภาคนอกอาคารให้หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้เสาไฟฟ้า กำแพง และอาคารสูง หายอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลให้รีบขึ้นที่สูงที่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิได้
  4. ควรออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างให้สามารถรับแรงแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้
  5. ควรมีการฝึกซ้อมการหลบภัยแผ่นดินไหวแต่ละชุมชนหรือหน่วงงานที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
1.2 ภูเขาไฟปะทุ
 ภูเขาไฟ (Volcano) เป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นจากการปะทุของหินหนืด แก๊ส และเถ้าธุลี ภูเขาไฟจากใต้เปลือกโลกแล้วปรากฎตัวเป็นสภาพภูมิประเทศ ภูเขาไฟมีทั้งที่ดับแล้วและที่ยังมีพลังอยู่ ภูเขาไฟที่ดับแล้วเป็นภูเขาไฟที่เกิดขึ้นนานมาก อาจเป็นหลายแสนล้านปี หินหนืดที่ไหลออกมาแข็งตัวกลายเป็นหินภูเขาไฟบนพื้นโลก ส่วนภูเขาไฟที่ยังมีพลังเป็นภูเขาไฟที่มีการปะทุ หรือดับชั่วคราว ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มอดแล้วนานนับพันปี อาจจะปะทุใหม่ได้อีก ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1.300 ลูก และมีภูเขาไฟที่ดับแล้วจำนวนมากที่กลายเป็นภูเขาที่สำคัญ
    1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟ ดังนี้
          1.1) การปะทุของแมกมา แก๊ส และเถ้าถ่านจากได้เปลือกโลก การปะทุมักมีสัณญาณบอกเหตุให้รู้ล่วงหน้า เช่น แผ่นดินไหวในบริเวณรอบๆ ภูเขาไฟเกิดการสั่นสะเทือน มีเสียงคล้ายฟ้าร้อง เสียงที่ดังนั้นเกิดจากการเคลื่อนไหวของแมกมา แก๊สต่างๆ และไอน้ำที่ถูกอัดไว้ เมื่อเกิดการปะทุ ลาวา เศษหิน ฝุ่นละออง เถ้าถ่านภูเขาไฟ จะถูกพ่นออกมาทางปล่องภูเขาไฟหรือออกมาทางช่องด้านข้างของภูเขาไฟ หรือตามรอยแตกแยกของภูเขาไฟ แมกมาเมื่อขึ้นสู่ผิวโลกจะเรียกวา “ลาวา” (Lava) ลาวาที่ออกสู่พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 1.200 ⁰C ไหลไปตามความลาดเอียงของพื้นที่
       1.2) การปะทุของหินหนืดหรือแมกมา ภายในแมกมาจะมีแก๊สอยู่ เมื่อแมกมาเคลื่อนขึ้นมาใกล้ผิวโลกตามช่องเปิดแก๊สต่างๆ ที่ละลายอยู่จะแยกตัวออกเป็นฟองแก๊สจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความหนืดของแมกมาตรงที่เกิดฟองจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนเกิดการแตกร้าวของฟองแก๊สพร้อมๆ กับการขยายตัวแล้วเกิดปะทุออกอย่างรุนแรง  
  2) สถานการณ์การเกิดภูเขาไฟปะทุ ในย่านภูเขาไฟของโลกยังมีปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่าภายในเปลือกโลกยังมีมวลหินหนืดหลอมละลายอยู่อีกและพยายามหาทางระบายความร้อนดังกล่าว ตัวอย่างการปะทุของภูเขาไฟใน พ.ศ.2552-2553 ที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เช่น ภูเขาไฟมาโยนในประเทศฟิลิปปินส์ได้พ่นเศษเถ้าถ่านสู่ท้องฟ้า ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการอพยพประชาชนออกนอกพื้นที่แต่ปรากฏว่าเขาไฟไม่ปะทุ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 ภูเขาไฟเตอร์เรียลบาในประเทศคอสตาริกา ได้พ่นหมอกควันและปะทุลาวาร้อนทำให้เกิดไฟไหม้ป่าขึ้น ส่งผลให้ประขาขนจำนวนมากต้องอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และนับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ภูเขาไฟเมราปี บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ได้ปะทุอย่างรุนแรงหลายครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน ต้องมีการอพยพประชาชนราว 90.000 คนออกพื้นที่เสี่ยงภัย และมีทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก
           ภูเขาไฟกระจัดกระจายยอยู่ในทุกภูมิภาคของโลก บ้างก็เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วบ้างก็เป็นภูเขาไฟที่รอวันปะทุ จากข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาระบุว่าโลกมีภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงกว่า 4.500 เมตร อยู่ถึง 14 แห่ง ดังต่อไปนี้
           ส่วนในประเทศไทยมีภูเขาไฟอยู่ในทุกภูมิภาค ลักษณะของภูเขาไฟในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มีความลาดชันน้อยประมาณ 4-10 องศา ภูเขาไฟแบบนี้เกิดเนื่องจากการไหลลามของลาวาแบบบะซอลต์ซึ่งค่อนข้างเหลวและไหลง่าย จึงไหลแผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้าง หากมีการปะทุขึ้นก็จะไม่รุนแรง
ภูเขาไฟในหลายภูมิภาคของไทยเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว พบได้ในจังหวัด ดังต่อไปนี้
      3) ผลกระทบที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟ
 1. ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหววเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชิงภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันและอาจเกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้
  2.การเคลื่อนที่ของลาวา อาจไหลมาจากปากปล่องภูเขาไฟและเคลื่อนที่เร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มนุษย์และสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันและเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
 3.การเกิดฝุ่นภูเข้าไฟ เถ้า มูล ภูเขาไฟ ปะทุขึ้นสู่บรรยากาศครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟปะทุหลายพันกิโลเมตร ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ ในแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน เมื่อฝนตกหนักอาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนภล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น
 4. เกิดคลื่นสึนามิ ขนาดเกิดการปะทุของภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องทะเล คลื่นนี้อาจโถมเข้าฝั่งสูงขนาดตึก 3 ชั้นขึ้นไป
      4) การระวังภัยที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุ สามารถทำได้ดังนี้
                     1. ต้องมีการพยากรณ์ว่าภูเขาไฟจะเกิดปะทุขึ้น และอาจเป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่ โดยการประชาสัมพันธ์ การพยากรณ์และเตือนภัยภูเขาไฟปะทุทางวิทยุโทรทัศน์ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง ให้ชัดเจนจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะต้องมีการอพยพหรือไม่ เพราะอาจมีบางคนไม่อยากอพยพจนกว่าจะมีการปะทุ และผู้คนจะกลับมาอยู่บ้านของตนได้เร็วที่สุดเมื่อใด
                   2. การพยากรณ์ควรเริ่มต้นด้วยการสังเกต เก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนักภูเขาไฟวิทยาที่มีประสบการณ์อย่าจริงจัง เพราะภูเขาไฟไม่ปะทุบ่อยนัก ประชาชน 2-3 พันล้านคนของโลกอาจไม่รู้ว่าได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเชิงภูเขาไฟที่ดับหรือไม่ดับก็ตาม ดังนั้นการเตือนภัยล่วงหน้าจะช่วยลดจำนวนคนที่ตกเป็นเหยื่อของภูเขาไฟก็ได้ ดังนั้น จึงควรให้ความรู้ว่าภูเขาไฟอยู่ที่ไหน จะปะทุเมื่อไร จะคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
                   3. การให้ความรู้แก่ประชาชน ทำได้ตลอดเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังประสบภัยพิบัติ เมื่อประชาชนรู้เรื่องภัยพิบัติจากการปะทุของภูเขาไฟ นับว่าการเตือนภัยจากภูเขาไฟปะทุมีความสำเร็จไปครึ่งทางแล้ว ดีกว่าให้ประชาชนตกอยู่ในความมืดเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
1.3 สึนามิ
        สึนามิ (Taunami) เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “คลื่นอ่าวจอดเรือ” (Haebour Waver) ซึ่ง สึ คำแรก แปลว่า ท่าเรือ ( Harbour) ส่วนคำที่สอง นามิ แปลว่า คลื่น (Wave) ในบางครั้งก็อาจเรียกว่า “Seismic Wave” ปัจจุบันใช้คำเรียกกลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆ ขนาดหลายร้อยกิโลเมตร นับจากยอดคลื่นที่ไล่ตามกันไป
         1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดสึนามิ สึนามิเป็นคลื่นทะเลขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วและมีพลังมาก เกิดจากมวลน้ำในทะเลและมหาสมุทรได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง จนกลายเป็นคลื่นกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนนั้น ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเลย แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ เช่น การปะทุของภูเขาไฟบนเกาะหรือใต้ทะเล การพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ลงบนพื้นน้ำในมหาสมุทร การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ทะเล เป็นต้น
       2) สถานการณ์การเกิดสึนามิ บริเวณที่มักเกิดคลื่นสึนามิ คือ ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมักได้รับภัยจากสึนามิบ่อยครั้งส่วนในทะเลอันดามันของมหาสมุทรอินเดียไม่เคยเกิดสึนามิที่รุนแรงมาก่อน จนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดสึนามิที่รุนแรงมาก มีจุดกำเนิดอยู่ในทะเลทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย แล้วแผ่ขยายไปในทะเลอันดามันจนไปถึงฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200.00 คน ใน 11 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟส์ โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 คนใน 6 จังหวัด
          3) ผลกระทบที่เกิดจากสึนามิ ผลของคลื่นสึนามิที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มีดังนี้
 1. ทำให้แผ่นเปลือกโลกขยับ ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์คลาดเคลื่อนไป
 2. ส่งผลให้สภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาอันสั้น
 3.ทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้านเรือนเสียหาย ระบบสาธารณูปโภคถูกทำลาย เป็นต้น
 4. ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ เช่น สัตว์น้ำบางประเภทเปลี่ยนที่อยู่อาศัย เป็นต้น
 5. กระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน เช่น การทำประมง การค้าขายบริเวณชายหาด เป็นต้
 6. ส่งผลกระทบต่อธุระกิจการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง
 4) การระวังภัยจากสึนามิ วิธีสังเกตและป้องกันตนจากคลื่นสึนามิ มีดังนี้
     1. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดติดชายฝั่งทะเลย ต้องระลึกเสมอว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมา เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อมทุกเมื่อ
     2. สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง เช่น มีการลดระดับน้ำทะเล ให้รีบอพยพครอบครัวและสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูง เป็นต้น
3. ถ้าอยู่ในเรือจอดใกล้กับชายฝั่งให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล
     4. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง หากจำเป็นต้องมีการก่อสร้าง ควรมีโครงสร้างแข็งแรงต้านแรงสึนามิได้
1.4 อุทกภัย
          อุทกภัย (Flood) คือ ภัยที่เกิดจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นน้ำที่ท่วมพื้นที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นครั้งคราว เนื่องจากมีฝนตกหนักหรือหิมะละลาย ทำให้น้ำในลำน้ำหรือทะเลสาบไหลล้นตลิ่งหรือป่าลงมาจากที่สูง ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
           1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุทกภัย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุทกภัย มีดังนี้
                 1.1 ฝนตกหนักและต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากเกิดลมพายุ ลมมรสุมมีกำลังแรงหรือหย่อมความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง ส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ทัน
                   1.2 พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี หากมีฝนตกหนักต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำจึงไม่สามารถระบายน้ำออกไปได้
                  1.3 น้ำทะเลหนุน ถ้าหากมีน้ำทะเล ขึ้นสูงหนุนน้ำเข้าสู่ปากแม่น้ำจะทำให้น้ำเอ่อไหลล้นฝั่ง ทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณสองฝั่งแม่น้ำ
                  1.4 พื้นที่รองรับน้ำตื้นเขิน นับเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วม เพราะปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาแต่ละปีมีปริมาณไม่แตกต่างกัน แต่ตะกอนในท้องน้ำของแม่น้ำลำคลองและบึงมีมาก เมื่อถึงช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณน้ำมากจึงไม่มีแหล่งกักเก็บจึงเอ่อท่วมพื้นที่ต่างๆ
                  1.5 สิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของน้ำ ในอดีตน้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นดินจะไหลโดยอิสระลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันได้มีสิ่งกีดขวางเส้นทางการไหลของน้ำทั้งในลำน้ำ เช่น ตะกอน สิ่งก่อสร้างริมลำน้ำ กระชังปลา ส่วนบริเวณบนพื้นดินมีการสร้างถนน อาคาร บ้านเรือน และพื้นที่เกษตรกรรมขวางทิศทางการไหลของน้ำ น้ำจึงไมสามารถไหลและระบายได้ จึงเกิดน้ำท่วมขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ
                      ลักษณะภูมิประเทศที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย มีดังนี้
                    1. บริเวณที่ราบ เนินเขา จะเกิดอุทกภัยแบบฉับพลัน น้ำไหลบ่าอย่างรวดเร็วและมีพลังทำลายสูง ลักษณะแบบนี้ เรียกว่า “น้ำป่า” เกิดขึ้นเพราะมีน้ำหลากจากภูเขา อันเนื่องจากมีฝนตกหนักบริเวณต้นน้ำ จึงทำให้เกิดน้ำหลากท่วมฉับพลัน
                     2. พื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำและชายฝั่ง เป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นช้าๆ จากน้ำล้นตลิ่ง เมื่อเกิดจะกินพื้นที่บริเวณกว้าง น้ำท่วมเป็นระยะเวลานาน
                    3. บริเวณปากแม่น้ำ เป็นอุทกภัยที่เกิดจากน้ำที่ไหลจากที่สูงกว่าและอาจจะมีน้ำทะเลหนุน ประกอบกับแผ่นดินทรุดจึงทำให้เกิดน้ำท่วมขังในที่สุด
           2) สถานการณืการเกิดอุทกภัย ปัจจุบันน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลกและที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และเกิดรุนแรงขึ้น เนื่องจากมีฝนตกหนังต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น น้ำท่วมครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ทำให้ประชาชนหลายพันคนในรัฐนอร์ทตาโคตาและมินนิโซตต้องอพยพออกจากบ้านเรือน และการเกิดน้ำท่วมฉับพลันในประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 นับเป็นภาวะน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในกรุงมะนิลาในช่วงเวลา 42 ปี เนื่องจากอิทธิผลของพายุโซนร้อนกิสนา ทำให้มีผู้เสีชีวิตหลายร้อยคนและคนไร้ที่อยู่อาศัยจำนวนมาก เป็นต้น
     ส่วนอุทกภัยในประเทศไทยมักเกิดในลักษณะน้ำท่วมฉับพลัน หรือน้ำป่า ทั้งนี้เนื่องจากมีการทำลายป่าไม้ เมื่อฝนตกน้ำจึงไหลช้าลงและเกิดน้ำท่วม เมื่อปริมาณน้ำมากขึ้นจะมีกำลังทำลายร้างสูง เช่น เมื่อวันที่ 11 สิงหาคา พ.ศ. 2544 มีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้ดินถล่มบนเขาและมีน้ำป่าไหลเข้าท่วมบ้านเรือน มีท่อนไม้และซากไม้ไหลลงมากับกระแสน้ำเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน มีผู้เสียชีวิต 125 คน นอกจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมก็ยังเกิดขึ้นทุกปีในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำต่างๆ
   3) ผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย สามารถแบ่งอันตราย และความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ได้ดังนี้
       1. น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวพังทลายได้ คน สัตว์พาหนะ และสัตว์อาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย
       2. เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วงๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนนสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุที่อยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก
        3. ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า เป็นต้น
      4. พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ที่กำลังผลิดอกออกผลบนพื้นที่ต่ำ อาจถูกน้ำท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ สัตว์เลี้ยง ตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุน หรือมีไว้เพื่อทำพันธุ์จะได้รับความเสียหาย ความเสียหายทางอ้อม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกิดโรคระบาด สุขภาพจิตเสื่อม และสูญเสียความปลอดภัย เป็นต้น
 1.5 แผ่นดินถล่ม
             แผ่นดินถล่ม (Landslides) คือ การเคลื่อนที่ของแผ่นดิน และกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของดินหรือหิน ตามบริเวณพื้นที่ลาดชันที่เป็นภูเขาหรือเนินเขา
             1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม แผ่นดินถล่มเกิดขึ้นเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกอาจเลื่อนหลุดออกมาเป็นกระบิหรือพังทลายลงมาก็ได้ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินถล่มมีทั้งที่เป็นธรรมชาติและที่มนุษย์กระทำขึ้น
                  1.1 ปัจจัยจากธรรมชาติ มีดังนี้
                          1. การเกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากจะส่งผลให้เกิดแผ่นดินบริเวณลาดเขาที่มีความชันเกิดการเคลื่อนที่ลงมาตามแรงดึงดูดของโลก
                           2. การเกิดฝนตกหนัก ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องกันหลายๆวัน น้ำฝนจะซึมไปสะสมอยู่ในเนื้อดิน เมื่อดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้จะลื่นไถลลงตามความลาดชันและมักมีต้นไม้และเศษหินขนาดต่างๆ เลื่อนไหลตามไปด้วย
                           นอกจากนี้แผ่นดินถล่มอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ภูเขาไฟปะทุ หิมะตกมากหรือหิมะละลาย คลื่นสึนามิ การเปลี่ยนแปลงของน้ำใต้ดิน การกัดเซาะของฝั่งแม่น้ำ ไหล่ทวีป เป็นต้น
 1.2 ปัจจัยจากมนุษย์ มีดังนี้
  1. การขุดตนบริเวณไหล่เขา ลาดเขาหรือเชิงเขา เพื่อทำการเกษตร การทำถนน การขยายที่ราบในการพัฒนาที่ดิน เป็นต้น
    2. การดูดทรายจากแม่น้ำ หรือบนแผ่นดิน
    3. การขุดดินลึกๆ ในการก่อสร้างห้องใต้ดินของอาคาร
    4.การบดอัดดินเพื่อการก่อสร้างทำให้เกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียง
    5. การสูบน้ำใต้ดิน น้ำบาดาลที่มากเกินไป
    6. การทำลายป่าเพื่อทำไร่ ทำสวน เป็นต้น
                2. สถานการณ์การเกิดแผ่นดินถล่ม การเกิดแผ่นดินถล่มในต่างประเทศและในประเทศไทยมีลักษณะคล้ายกัน คือ มักเกิดในพื้นที่ภูเขาที่มีความลาดชัน มีการปรับพื้นที่ป่าตั้งเดิมเป็นพื้นที่เกษตรกรรม สร้างบ้านพักอาศัย สร้างรีสอร์ตบริการนักท่องเที่ยว และเมื่อมีฝนตกชุกต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 24 ชั่วโมง มักจะเกิดแผ่นดินถล่มเอาดินโคลน เศษหิน ซากไม้ลงมาพร้อมกับสายน้ำ สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินทุกครั้ง และการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้มักเกิดถี่ขึ้น และรุนแรงมากขึ้นทุกๆครั้งด้วย ตัวอย่างเช่น ประเทศยูกันทวีปแอฟริกาได้เกิดดินถล่มในหมู่บ้านแถบเทือกเขาทางภาคตะวันออกของประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 เนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน และผู้สูญหายอีกกว่า 300 คน และที่ประเทศจีนใต้เกิดแผ่นดินถล่มบ่อยครั้ง เช่น เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ได้เกิดฝนตกหนักในเขตมณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวน ส่งผลให้เกิดดินถล่มมีผู้เสียชีวิต 148 คน และบ้านเรือนเสียหายอย่างมาก
ตัวอย่างแผ่นดินถล่มในประเทศไทย เช่น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2549 ที่อำเภอลับแล อำเภอท่าปลา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย